เทคนิคการดูแลสระว่ายน้ำของ (คุณไพทูรย์ ศิริกำเนิด)
- 2374 เข้าชม
- 22 มิถุนายน 2560
เทคนิคการดูแลสระว่ายน้ำของ (คุณไพทูรย์ ศิริกำเนิด)จากประสบการณ์การทำงานนานถึง สอง ปีได้มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่ได้เข้าบริการดูแลสระว่ายของแต่ละที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และ ปัจุบันดูแลสิบสี่ลูกการอบรมเสริมทักษะช่างอาทิเช่นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสระว่านน้ำชำรุดต้องรู้ปัญหา พร้อมแก้ไขด้วยความรวดเร็วก่อนที่สระว่ายน้ำจะมีปัญหา และการอบรมด้านเคมีที่เกี่ยวกับสระว่ายน้ำ)ให้รู้ว่าสารเคมีใดบ้างชื่อว่าอะไร และทำหน้าที่อะไรใช้ในปริมานเท่าไรต่อน้ำกี่คิว รวมถึงอันตรายต่อผู้ใช้เองว่าจะต้องป้องกันอย่างไร สระว่ายน้ำเพื่อที่จะให้ได้สระน้ำที่ใสสะอาดและปลอดภัยจากเชื้อโรค หัวใจประการแรกคือคุณสมบัติทางเคมีของน้ำในสระจะต้องสมดุลอย่างเหมาะสม ประการที่สองคือการกรองฝุ่นละอองในน้ำ ประการที่สามคือการหมุนเวียนของน้ำก็คือระบบสระว่ายน้ำนั้นเองประการแรก คือเรื่องของเคมี จุดประสงค์ของการใส่สารเคมีในสระว่ายน้ำก็คือเพื่อฆ่าเชื้อโรค และเพื่อควบคุมคุณภาพของน้ำให้ได้ตรงตามมาตราฐานของน้ำในสระว่ายน้ำที่ดี โดยคือต้องทำการตรวจวัดและควบคุมมีหลักอยู่ดังนี้ คือค่า ph หรือค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ และค่าครอรีน สารเคมีที่ช่ายในการควบคุมเหล่านี้ได้แก่
1.คลอรีน เป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่ใช้กับสระว่ายน้ำ และมีอยู่หลายชนิดด้วยกันคือ ครอรีน90% ครอรีน65% ครอรีน10% แต่โดยทั่วไปนิยมใช้ครอรีน90%เนื่องจากมีความเข้มข้นสูงทำให้ใช้ปริมาณที่น้อยและอยู่ได้หลายสถานะสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการได้ค่าครอรีนในสระว่ายน้ำที่เหมาะสมให้อยู่ที่ระหว่าง 1.0-3.0 ppm ทำการตรวจวัดทุกๆวันโดยการใช้ชุดตวจสอบในการวัดปริมาณครอรีนที่ต้องเติมลงสู่สระว่ายน้ำสามารถเทียบได้จาก เช่น – สระขนาด 100 คิว ต้องการเติมครอรีนให้มีค่า 1 ppm ต้องใส่คลอรีน 111กรัม ต้องการเติมครอรีนให้มีค่าเพิ่ม 3 ppm ต้องใส่ครอรีน 300 กรัม *หมายเหตุ * ppm คือ part per million (1ส่วนใน1,000,000 ส่วน)
2.โซดาแอซ เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง มีค่า ph ประมาณอยู่ที่ 14 ใช้ในการปรับสภาพน้ำในกรณีที่น้ำเป็นกรดที่มีค่า ph ที่ต่ำกว่า 6.8 โซดาแอซมีลักษณะผงสีขาว วิธีใช้คือเทโซดาแอซทีละน้อยลงในถังที่มีน้ำบรรจุอยู่คนให้ละลายจนหมดแล้วจึงเทลงสระปริมาณในการใช้ประมาณ 1.3 กิโลกรัม ต่อสระขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน ใส่ทุกวันจนกว่าค่า ph จะสูงขึ้นจนอยู่ในระดับมาตราฐานคือ 7.2-7.6
3. กรดเกลือแห้ง เป็นสารมีคุณสมบัติเป็นกรดมีค่า ph อยู่ที่1.0 ใช้ในการปรับสภาพน้ำในกรณีที่ น้ำเป็นด่างมีค่า ph ที่สูงกว่า 7.8กรดเกลือแห้งมีลักษณะเป็นผงสีขาว วิธีใช้คือกรดเกลือทีละน้อย ลงในถังที่มีน้ำบรรจุอยู่คนให้ละลายจะหมดแล้วจึงเทลงสระ ปริมาณการใช้ประมาณ1 กิโลกรัม ต่อขนาดสระ100ลูกบาศก์เมตร ต่อวันใส่ทุกวันจนกว่าค่า ph จะลดลงอยู่ในระดับมาตราฐานที่ 7.2-7.6
4. ผงกรอง เป็นสารพิเศษช่วยในการกรองน้ำ มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว จำเป็นต้องใช้ร่วมกับเครื่องกรองผ้า ผงกรองจะไปเคลือบติดอยู่กับแผ่นกรอง ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองละเอียดมากขึ้น เมื่อผ่านการใช้ไประยะหนึ่งผงกรองจะสกปรก เครื่องกรองจะตัน โดยดูจากเกย์วัดความดันของถังกรองจะขึ้นอยู่ที่ 15-20 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ต้องทำการล้างเครื่องกรอง โดยปริมาณของผงกรองที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับรุ่นและขนาดของเครื่องกรอง
5. น้ำยาควบคุมตะไคร่ A-Trine เป็นน้ำยานี้จะมีคุณสมบัติในการควบคุมการเจริญเติบโตของตะไคร่ภายในสระว่ายน้ำ และจะมีคุณสมบัติช่วยทำให้น้ำมีสีฟ้าสดใสด้วย เป็นสารเคมีที่ใช้ในการบำรุงรักษาตามระยะเวลาหรือเมื่อสระมีปัญหาเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกวัน หากมีการดูแลเป็นประจำปริมาณการใช้ ½แกลลอน ต่อสระ 100 คิว(1 แกลลอนเท่ากับ 3.5 ลิตร)ใส่ทุกสัปดาห์ ½ ลิตร ต่อสระ 100 คิว
6. น้ำยาปรับสภาพน้ำใส เป็นน้ำยาที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำเขียวที่เกิดจากการขาดการดูแล หรือน้ำขาดสารเคมี จึงทำให้ตะไคร่เกิดการเจริญเติบโตภายในสระมาก เป็นสาเหตุทำให้น้ำเขียว น้ำยาจะทำให้ตะไคร่ตายและตกตะกอนลงสู่ก้นสระ จากนั้นจึงทำการดูดตะกอนทำความสะอาดตามปกติปริมาณการใช้ ½ แกลลอน ต่อสระ 100 คิว (1 แกลลอนเท่ากับ 3.5 ลิตร)ใส่ทุกสัปดาห์ ½ ลิตร ต่อสระ 100 คิว
7. น้ำยาเร่งการตกตะกอน F-2000 เป็นน้ำยาที่ช่วยแก้ปัญหาสภาพน้ำในสระมีลักษณะขุ่น เนื่องจากมีสารแขวนลอยมาก น้ำยาจะมีคุณสมบัติทำให้สารแขวนลอยมารวมตัวกันเป็นอนุภาคที่ใหญ่ขึ้นจนมีน้ำหนักมากพอที่จะตกตะกอนลงมาสู่ก้นสระ เทคนิคในการใช้น้ำยาเร่งการตกตะกอนคือเมื่อใส่ลงในสระแล้วต้องปิดระบบหมุนเวียนน้ำ เพื่อให้สารแขวนลอยตกตะกอน ทิ้งไว้ 1 คืน และต้องรีบดูดตะกอนออกตั้งแต่ช่วงเช้า เนื่องจากถ้าอุณหภูมิสูงตะกอนจะลอย ทำให้ดูดตะกอนออกได้ไม่หมดปริมาณการใช้ 1-½ แกลลอน ต่อสระ 100 คิว (1 แกลลอนเท่ากับ 3.5 ลิตร)
8. น้ำยาทำความสะอาดกระเบื้องขอบสระ Tile Cleanใช้ชุบฟองน้ำหรือผ้าเช็ดตามกระเบื้องขอบสระบริเวณระดับน้ำ เนื่องจากที่บริเวณนี้จะมีคราบสกปรกมาเกาะมาก คราบสกปรกมาจากฝุ่นละอองต่างๆ น้ำมันทาผิว เหงื่อไคล และสิ่งสกปรกที่มักลอยอยู่บนผิวน้ำ น้ำยาจะมีคุณสมบัติไม่มีฟอง และมีค่า pH เป็นกลางจึงไม่มีผลกระทบกับน้ำในสระ